T20192094608629:หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นตามแนวพุทธศาสตร์ หลักสูตรใหม่(พ.ศ. 2562)

 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
1.1 รหัสและชื่อหลักสูตร      
  ประเภทการขอรับทราบ   หลักสูตรใหม่    
  จำนวนปริญญา   หลักสูตรใหม่ 1 ปริญญา  
  เลือกใช้เกณฑ์การประเมิน   2558    
  วัน/เดือน/ปี ที่สภามหาวิทยาลัยอนุมัติ   25/04/2562  
  ปีการศึกษาที่สภาอนุมัติให้เปิดสอน   2562
   หลักสูตรสังกัดคณะ   มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน  
   เริ่มใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ.    
   ปรับปรุงครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ.    
     
  1.1.1 ชื่อภาษาไทย : หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นตามแนวพุทธศาสตร์  
  1.1.2 ชื่อภาษาอังกฤษ : Master of Political Science Program in Buddhistic Local Government  
  1.1.3 สถานที่จัดการเรียนการสอน : สถานที่จัดการเรียนการสอนอื่นๆ (โปรดระบุ):มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน  
1.2 ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
  1.2.1 รูปแบบ :
ระดับ 
ปริญญาโท แบบ ก2
ปริญญาโท แบบ ข
 
  1.2.2 หลักเกณฑ์การเรียกชื่อ :
ปริญญาที่ 
หลักเกณฑ์การเรียกชื่อ 
ชื่อปริญญา (ภาษาไทย) 
ชื่อปริญญา (ภาษาอังกฤษ)  
ชื่อย่อปริญญา (ภาษาไทย) 
ชื่อย่อปริญญา (ภาษาอังกฤษ) 
ชื่อสาขาวิชา 
1เป็นไปตามเกณฑ์กำหนดชื่อปริญญาของ กกอ.รัฐศาสตรมหาบัณฑิตMaster of Political Scienceร.ม.M.Pol.Sc.การปกครองท้องถิ่นตามแนวพุทธศาสตร์
 
1.3 ข้อมูลประกอบ :      
  1.3.1 วิชาเอก     ไม่มี  
  1.3.2 จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร : โครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นตามแนวพุทธศาสตร์ มีโครงสร้างหลักสูตร ดังนี้

รายการ

จำนวนหน่วยกิต

แผน ก แบบ ก ๒

แผน ข

รายวิชาเสริมพื้นฐานไม่นับหน่วยกิต

(๖)

(๖)

รายวิชาบังคับพื้นฐานไม่นับหน่วยกิต

(๓)

(๓)

รายวิชาเรียน (Course work) ไม่น้อยกว่า

- รายวิชาบังคับ (Required Courses)

- รายวิชาเอก (Major Courses)

- รายวิชาเลือก (Elective Courses)

๓๐

๑๘

 

๓๖

๑๘

วิทยานิพนธ์  (Thesis)

๑๒

-

สารนิพนธ์  (Thematic Paper)

-

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร

๔๒

๔๒

หมายเหตุ : 

๑) นักศึกษาทั้งแผน ก แบบ ก ๒ และแผน ข ต้องสอบผ่านวิชา GS ๔๗๒๐๓  ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์ ในระดับคะแนน S (Satisfactory)
๒) นักศึกษาผู้ที่ไม่ได้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านรัฐศาสตร์ จะต้องเรียนวิชาเสริมพื้นฐานไม่นับหน่วยกิตเพิ่มเติมจำนวน ๒ รายวิชา ซึ่งรวมเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรดังนี้

     รหัสวิชา             รายวิชา   หน่วยกิต
GS ๔๗๑๐๑ ความรู้เบื้องต้นทางรัฐศาสตร์                (๓) (๓-๐-๖)
  Introduction to Political Science

GS ๔๗๑๐๒ ความรู้เบื้องต้นทางการบริหารรัฐกิจ (๓) (๓-๐-๖)
Introduction to Public Administration

๓) นักศึกษาจะต้องเรียนวิชาบังคับพื้นฐานไม่นับหน่วยกิต ทางด้านรัฐศาสตร์ เพิ่มเติมจำนวน ๑ รายวิชา ซึ่งรวมเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร ดังนี้

     รหัสวิชา                  รายวิชา   หน่วยกิต
GS ๔๗๒๐๓ ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์          (๓) (๓-๐-๖)
English for Political Scientist



รูปแบบ 
จำนวนหน่วยกิต 
ปริญญาโท แบบ ก242
ปริญญาโท แบบ ข42

 
  1.3.3 ภาษาที่ใช้ : หลักสูตรจัดการศึกษาเป็นภาษาไทย  
  1.3.4 การรับผู้เข้าศึกษา : รับทั้งนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างชาติ  
  1.3.5 ความร่วมมือกับสถาบันอื่น : เป็นหลักสูตรของสถาบันโดยเฉพาะ
 
  1.3.6 การให้ปริญญาแก่ผู้สำเร็จการศึกษา : ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว  

หลักสูตร T20192094608629:หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นตามแนวพุทธศาสตร์ หลักสูตรใหม่(พ.ศ. 2562)

 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
1.4 สถานภาพหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร    
  1.4.1 กำหนดเปิดสอน   ภาคเรียนที่ 1  ปี 2562  

เอกสารแนบ มติสภา
  • Copy
  • Delete (Del)
  • Refresh
  • Download
  • Folder1_4
 
Name 
Date modified 
Size 
CouncilApprove.pdf
16/12/2019 10:49:341.48 MB
 
  1.4.2 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร  
 
ตำแหน่งทางวิชาการ 
ชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร 
วุฒิการศึกษาสูงสุด 
ประวัติการศึกษา/ผลงานทางวิชาการ 
 อาจารย์ชนาธิป ศรีโทวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: ร.ด. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 อาจารย์พระใบฎีกาทวี อภโย (ข่ายมณี)วุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: ร.ด. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 อาจารย์พระมหาวิรุธ วิโรจโน (นิลเพ็ชร)วุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: ร.ด. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 
  1.4.3 อาจารย์ประจำหลักสูตร    
ตำแหน่งทางวิชาการ 
อาจารย์ประจำหลักสูตร 
วุฒิการศึกษาสูงสุด 
ประวัติการศึกษา/ผลงานทางวิชาการ 
 อาจารย์ชนาธิป ศรีโทวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: ร.ด. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 อาจารย์พระใบฎีกาทวี อภโย (ข่ายมณี)วุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: ร.ด. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 อาจารย์พระมหาวิรุธ วิโรจโน (นิลเพ็ชร)วุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: ร.ด. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 อาจารย์อภิชิต เหมือยไธสงวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: รป.ด. สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 อาจารย์อาทิตย์ ผ่านพูลวุฒิการศึกษาสูงสุด: ปริญญาเอก หลักสูตร: ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา: GRAD_PROG_ID จบจากมหาวิทยาลัย: More Info...
 
1.5 ระบบจัดการศึกษา    
  1.5.1 การจัดการศึกษาและโครงสร้างหลักสูตร   ระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ภาค การศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์  
  1.5.2 การจัดการศึกษาฤดูร้อน   ไม่มี
 
       
     
   

T20192094608629:หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นตามแนวพุทธศาสตร์ หลักสูตรใหม่(พ.ศ. 2562)

 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
วิทยาเขต/คณะ/ภาควิชา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน
1.6 ผลการพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน (ผลการเรียนรู้: Learning Outcomes)    
  1.6.1 ผลการเรียนรู้ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป    
   ผลการพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน
ลำดับที่ 
รายละเอียด 
 
No data to display
PLO
การพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน 
 
No data to display
ตาราง Maping 
PLO(Ascending)[Filter]
Grand Total
Grand Total
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)

 
  1.6.2 ผลการเรียนรู้ หมวดวิชาเฉพาะ    
     ผลการพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน (ผลการเรียนรู้ :Learning Outcomes)
ลำดับที่ (Ascending)
รายละเอียด 
[Collapse]หัวข้อ: 1.คุณธรรมจริยธรรม
 1จิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางวิชาการและหรือวิชาชีพ
 2มีวินัย ซื่อสัตย์ และรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
 3มีจิตสาธารณะ รักและภาคภูมิใจในท้องถิ่น สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
[Collapse]หัวข้อ: 2.ความรู้
 1มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีสำคัญทางรัฐศาสตร์
 2มีทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้ทางรัฐศาสตร์ สามารถปฏิบัติงานในสาขาวิชาชีพในสถานการณ์ต่างๆได้
 3มีความรู้ความเข้าใจในพัฒนาการใหม่ๆ ในสาขาวิชา รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและการ ต่อยอดองค์ความรู้ในสาขาวิชา
 4ตระหนักในธรรมเนียมปฏิบัติ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับในสาขาวิชาชีพ ที่เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์
[Collapse]หัวข้อ: 3.ทักษะทางปัญญา
 1สามารถค้นหา ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการพัฒนาความรู้และการแก้ปัญหาทางวิชาการได้อย่างสร้างสรรค์
 2สามารถคิดวิเคราะห์ และริเริ่มสร้างสรรค์ โดยใช้ความรู้และประสบ การณ์ของตนในการแก้ปัญหาการทำงานได้
 3สามารถวางแผนการทำงานและการบริหารจัดการงานได้
[Collapse]หัวข้อ: 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
 1มีภาวะผู้นำ มีความคิดริเริ่มในการวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของตนเองและของกลุ่ม
 2ตระหนักในความแตกต่างหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี
 3มีความรับผิดชอบในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและสาขาวิชาการ/วิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
[Collapse]หัวข้อ: 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี
 1มีความสามารถในการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์หรือกระบวนการวิจัยในการคิดวิเคราะห์ หรือแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันและในการปฏิบัติงานในสาขาวิชาชีพได้
 2มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศในการสื่อสาร การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง การจัดเก็บ และประมวลผลข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาในสาขาวิชาชีพได้
[Collapse]หัวข้อ: 6 ด้านทักษะการดำเนินชีวิตตามแนวพุทธ
 1มีระเบียบ ปฏิบัติตนตามหน้าที่ชาวพุทธ
 2มีความสามัคคี มีจิตตั้งมั่นในความ ถูกต้องและความดี
 3มีการบำเพ็ญประโยชน์ มีจิตสาธารณะ รู้จักใช้ความรู้ตามหลัก สัปปุริสธรรม
PLO
การพัฒนาการเรียนรู้แต่ละด้าน (Ascending)
 
No data to display
ตาราง Maping 
PLO(Ascending)[Filter]
Grand Total
Grand Total
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
 
 
  1.6.3 ความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษา    
 
ปีที่ (Ascending)
รายละเอียด 
1นักศึกษาเมื่อสำเร็จการศึกษาชั้นปีที่ 1 สามารถประยุกต์หลักการและวิธีการทางรัฐศาสตร์ จากความรู้และหลักการเหล่านั้นเพื่อนำไปพัฒนาตนเองได้ มีศักยภาพเป็นนักบริหารการปกครอง นักวิชาการหรือนักวิจัยโดยอาศัยองค์ความรู้ด้านรัฐศาสตร์ สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นตามแนวพุทธศาสตร์ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาสังคม
2สามารถเผยแพร่หลักทางรัฐศาสตร์ สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่นตามแนวพุทธศาสตร์ในด้านบริการวิชาการ หรือศิลปวัฒนธรรมไทยต่อสาธารณชน

 
1.7 คุณสมบัติผู้เรียน
 

1) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ตามที่หลักสูตรกำหนดจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอื่นๆ ซึ่งหลักสูตรปริญญา นั้น สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) หรือสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยให้การรับรอง

2) มีเกรดเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.50  จากระบบ 4 แต้ม

3) ผู้ที่ได้เกรดเฉลี่ยไม่ถึงเกณฑ์ คณะกรรมการประจำบัณฑิตวิทยาลัยอาจพิจารณารับเป็นนักศึกษาได้โดยพิจารณาจากประสบการณ์การทำงานติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี

4) ในกรณีที่จบการศึกษาจากสถาบันการศึกษาต่างประเทศต้องมีคุณสมบัติอย่างอื่นเพิ่มเติมตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด

5) สำหรับผู้ที่ไม่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีด้านรัฐศาสตร์ จะต้องศึกษารายวิชาทางรัฐศาสตร์เพิ่มเติมไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต ตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด

6) มีความประพฤติดี ไม่มีประวัติในทางเสียหาย ไม่เป็นโรคร้ายแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา

 
1.8 จำนวนนิสิต        
1.8.1 จำนวนนิสิต :  
 
ประเภทปริญญา(Ascending)
ชั้นปี
25622563256425652566
ปริญญาโท แบบ ก211010101010
2010101010
A:รวม1020202020
B:จำนวนนิสิตที่คาดว่าจะจบ010101010
ปริญญาโท แบบ ข13030303030
2030303030
A:รวม3060606060
B:จำนวนนิสิตที่คาดว่าจะจบ030303030

   
  1.8.2 รูปแบบการศึกษา : แบบชั้นเรียน  
  1.8.3 ค่าใช้จ่ายต่อหัวต่อปี (สูงสุด)   30000.00  บาท (โครงการปกติ/รับตรง)
40000.00  บาท (โครงการพิเศษ ถ้ามี)
 
1.9 เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร    
 

 แผน ก แบบ ก 2   

1) ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร และสอบได้ ได้ระดับคะแนนเฉลี่ยไม่
ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า

2) เสนอวิทยานิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการสอบที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้

3) ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการ
การอุดมศึกษา เรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการโดยบทความที่นำเสนอฉบับสมบูรณ์ (
Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการ (Proceedings) ดังกล่าว

4) ผ่านกิจกรรมภาคบังคับตามเงื่อนไขที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด

 แผน ข

1) ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดในหลักสูตร โดยจะต้องได้ระดับคะแนนเฉลี่ย
ไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า และสอบผ่านการสอบประมวลความรู้
(Comprehensive Examination) ด้วยข้อเขียนและ/หรือปากเปล่าในสาขาวิชานั้น

2) เสนอรายงานการค้นคว้าอิสระหรือสารนิพนธ์และสอบผ่านการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายโดยคณะกรรมการสอบที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้

3) รายงานการค้นคว้าอิสระหรือสารนิพนธ์ หรือส่วนหนึ่งของรายงานการค้นคว้าอิสระหรือสารนิพนธ์ต้องได้รับการเผยแพร่ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งที่สืบค้นได้

4) ผ่านกิจกรรมภาคบังคับตามเงื่อนไขที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด

 
1.10 เอกสารแนบ    
   
  • Move (F6)
  • Copy
  • Refresh
  • Download
  • Folder1_10
 
Name 
Date modified 
Size 
มคอ2.pdf
25/11/2020 14:37:513.43 MB